ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Operating system OS

ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ (Operating System) หรือ OS อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Supervisor Program ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่มีความสำคัญต่อการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์มาก เพราะซอฟต์แวร์ประเภทอื่น ๆ จะทำงานในคอมพิวเตอร์ได้ ต้องขึ้นอยู่กับการควบคุมและการจัดการของ OS จึงเปรียบ OS เสมือนเป็นผู้จัดการของระบบ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์ประเภท OS ระบบคอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้ o หน้าที่ของซอฟต์แวร์ Operating System สำคัญดังนี้- เป็นตัวกลางเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ โดยการจัดเตรียมซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า OS Shell ไว้เป็นเครื่องมือในการติดต่อกับผู้ใช้ เช่น ระบบปฏิบัติการ DOS ติดต่อกับผู้ใช้โดยให้พิมพ์คำสั่งที่เครื่องหมายพร้อมรอรับคำสั่ง(Prompt Sign) ส่วนระบบปฏิบัติการ Windows'95 ติดต่อกับผู้ใช้โดยใช้ภาพกราฟฟิก เป็นต้น- ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ เช่น ควบคุมการใช้ Disk Drive, Hard Disk, keyboard และ Monitor เป็นต้น- ทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์ที่อยู่ใน ROM (Read Only Memory) เมื่อเริ่มเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า การบูต(Boot) เครื่อง OS จะทำงานต่อจากซอฟต์แวร์ประเภท Firmware ที่จัดเก็บไว้ใน ROM ซึ่งจะทำงานเมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ เรียก Firmware นี้ว่า BIOS (ฺBasic Input/Output System) โดย BIOS จะทำการตรวจสอบระบบฮาร์แวร์คอมพิวเตอร์เบื้องต้น จากนั้นจึงส่งหน้าที่การต่อให้แก่ซอฟต์แวร์ประเภท OS เพื่อให้ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ต่อไป หากไม่มี OS คอมพิวเตอร์ก็จะหยุดการทำงาน- จัดตาราง(Schedule) การใช้ทรัพยากร ได้แก่การเข้าใช้หน่วยประมวลผลกลาง(CPU) ของคำสั่งที่ผู้ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ เช่น กำหนดวิธีการจัดคิว(Queue) ของคำสั่ง, เวลาที่ OS อนุญาตให้ใช้ CPU ของแต่ละคำสั่ง ทั้งนี้เพื่อให้ให้หน่วยประมวลผลกลางทำงานมีประสิทธิภาพมากที่สุด- จัดการข้อมูลและสารสนเทศภายในหน่วยความจำ ได้แก่ การนำข้อมูลไปวาง(Placement) ในหน่วยความจำ, การแทนที่ข้อมูลในหน่วยความจำ(Replacement) การย้ายข้อมูลในหน่วยความจำ เป็นต้น- จัดการระบบการจัดเก็บไฟล์ข้อมูลลงบนสื่อสำรองข้อมูล(Secondary Storage Unit)- นำโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ประเภทอื่น เข้าประมวลผลในคอมพิวเตอร์ และคอยให้บริการเมื่อซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ต้องการใช้ทรัพยากรของระบบคอมพิวเตอร์ ได้แก่ หน่วยความจำ, ดิสก์ไดรฟ์, ฮาร์ดดิสก์, เครื่องพิมพ์ เป็นต้น- จัดการในด้านรักษาความปลอดภัย OS แก้ไขข้อบกพร่องระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ รักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบ- จัดการเชื่อมต่อและควบคุมอุปกรณ์รอบข้างของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ เครื่องสแกนเนอร์, อุปกรณ์ Sound Card , Modem เป็นต้น o คุณลักษณะของซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ สามารถพิจารณาในด้านต่าง ๆ ดังนี้- จำนวนงานที่ทำได้ คือ จำนวนงานหรือโปรแกรมที่ OS สามารถจัดการให้ทำงานพร้อม กัน ถ้ามีหลายโปรแกรมหรือหลายงานทำงานพร้อมกันได้ เรียกว่า Multi-Tasking OS แต่ถ้า OSควบคุมให้โปรแกรมทำงานได้ครั้งละ 1 โปรแกรมเท่านั้น เรียกว่า Single-Tasking OS- จำนวนผู้ใช้ คือ OS สามารถควบคุมการทำงานให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานพร้อม ๆ กันได้หลายเครื่องในระบบเครือข่ายที่มีผู้ใช้หลาย ๆ คน ถ้า OS สามารถจัดการระบบที่มีผู้ใช้หลาย ๆ คนพร้อมกันได้ในระบบ เรียกว่า Multi-User OS แต่ถ้า OS สามารถจัดการระบบได้เพียงเครื่องเดียวหรือมีผู้ใช้ระบบได้เพียงครั้งละ 1 คน เรียกว่า Single-User OS- ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ได้ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ Generic Operation System คือ ระบบปฏิบัติการที่สามารถใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้หลายประเภท ไม่ยึดติดกับคอมพิวเตอร์ประเภทใดประเภทหนึ่งเท่านั้น และ Proprietary Operating System คือ ระบบปฏิบัติการที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์ระบบ ระบบหนึ่งหรือยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งเท่านั้น สร้างระบบปฏิบัติการขึ้นมาเพื่อใช้กับ Microprocessor Chip ประเภทเดียว ไม่สามารถนำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ประเภทอื่น ๆ ได้ เช่น ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่อง Macintosh และเครื่องในตระกูล Apple II ซึ่งใช้ CPU Chip ยี่ห้อ Motorola 6502 เป็นต้น ซึ่งไม่สามารถนำระบบปฏิบัติการนี้มาใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ทั่ว ๆ ไปได้ตัวอย่างซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการที่ใช้สำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์โดยทั่วไป ได้แก่ ดอส(DOS), วินโดวส์ 95(Windows'95), ยูนิกซ์(UNIX) o ดอส (DOS : Disk Operating System)DOS ย่อมาจาก Disk Operating System เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้กันแพร่หลายบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์มีขนาดไม่ใหญ่ สามารถบันทึกไว้บนแผ่นดิสก์ (Diskette) แล้วนำไปใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ได้ เริ่มมีใช้ครั้งแรกบนเครื่อง IBM PC ประมาณปี ค. ศ. 1981 เรียกว่า PC-DOS ต่อมาบริษัท Microsoft ได้สร้าง MS-DOS สำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ทั่วไปและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่รุ่น (Version) 1.0, 2.0, 3.0, 3.30, 4.0, 5.0, 6.0 และ 6.22 ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการ MS-DOS อยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะบนไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า ๆ ที่มีทรัพยากรของระบบน้อย เช่น มีหน่วยความจำและฮาร์ดดิสก์ความจุน้อย , Microprocessor รุ่นเก่า เป็นต้นลักษณะการทำงาน DOS ทำงานติดต่อกับผู้ใช้แบบ Interactive Command คือผู้ใช้ต้องพิมพ์คำสั่งตามรูปแบบที่ DOS กำหนด ณ ตำแหน่งเครื่องหมายพร้อม(Prompt Sign) รอรับคำสั่งอยู่ ซึ่งมีเคอร์เซอร์(Cursor) บอกตำแหน่งที่พิมพ์ เมื่อพิมพ์คำสั่งเสร็จ ต้องกดแป้น Enter เพื่อส่งคำสั่งไปทำงาน จากนั้นก็จะได้ผลลัพธ์ของการทำงาน การควบคุมการใช้ DOS ส่วนใหญ่ใช้แป้นพิมพ์เพื่อพิมพ์คำสั่ง ที่เป็นข้อความเป็นส่วนใหญ่ เรียกว่าทำงานในรูปแบบ Mode Text บนบรรทัดคำสั่ง (Command Line)การจัดประเภท DOS จัดเป็น OS ประเภท Single-Tasking, Single-User และ Generic Operating Software และทำงานในโหมดข้อความ (Text Mode) เป็นส่วนใหญ่ตัวอย่างการทำงาน คำสั่ง DATE, TIME ใช้เพื่อแสดงวันเดือนปี และเวลาของระบบ แสดงได้ดังนี้
คำสั่ง DIR (Directory) ใช้เพื่อแสดงรายชื่อไฟล์(Filename) ใน Disk Drive หรือไดรฟ์ A: สามารถพิมพ์คำสั่งได้ดังนี้
เมื่อพิมพ์ข้อความที่ไม่ใช่คำสั่งหรือใช้ผิดรูปแบบไวยากรณ์ (Syntax) ของ DOS จะแจ้งข้อความ ดังนี้ จุดด้อยของ DOS คือ การติดต่อกับผู้ใช้ไม่สะดวกและยุ่งยาก เพราะผู้ใช้ต้องจำและพิมพ์คำสั่ง ประมาณ ปี ค. ศ. 1985 บริษัท Microsoft ได้พัฒนาซอฟต์แวร์ Microsoft Windows Version 1.0 และได้พัฒนาเรื่อยมาตามลำดับ จนได้รับความนิยมมาก คือ Microsoft Windows version 3.1 ในปี ค.ศ. 1990 และพัฒนา Version 3.11 ในเวลาต่อมา ซอฟต์แวร์ดังกล่าวทำงานในสภาพแวดล้อมที่เป็นภาพกราฟฟิก เรียกว่า Graphic User Interface : GUI ทำหน้าที่แทน DOS ทำให้เกิดความสะดวกแก่ผู้ใช้อย่างมาก ทำให้ซอฟต์แวร์ Microsoft Windows 3.11 ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ บริษัทซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ได้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมของ Windows version 3.11 เป็นจำนวนมาก คุณสมบัติเด่นของ Windows 3.11 เหนือกว่า DOS คือทำงานใน Graphic Mode เป็น Multi-Tasking และ Generic OS แต่ยังคงทำงานในลักษณะ Single-User OS แต่ทั้งนี้ Microsoft Windows 3.11 ก็ยังต้องอาศัยระบบปฏิบัติการ DOS ทำการบูต(Boot) เพื่อระบบเริ่มต้นก่อน ลักษณะและสภาพเครดิต micosoft

ระบบปฏิบัติการ OS Operating system

ในปี 1987 บริษัทไอบีเอ็มได้มีการแนะนำเครื่องพีซีที่เรียกว่า PS/2 (Personal System/2) และ PC /AT ที่มีไมโครโปรเซสเซอร์เบอร์ 80286 80386 หรือ 80486 เป็นซีพียูของเครื่องออกมาสู่ตลาดเป็นครั้งแรก พร้อม ๆ กับการประกาศระบบปฏิบัติการตัวใหม่ที่เรียกว่าโอเอสทู (OS/2) ที่มีบริษัทไอบีเอ็มและไมโครซอฟต์เป็นผู้ร่วมกันพัฒนาระบบปฏิบัติการประเภทนี้ออกมาเป็นครั้งแรก โอเอสทูเป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้สำหรับเครื่องไอบีเอ็มและไอบีเอ็มคอมแพททิเบิล เป็นระบบปฏิบัติการที่ไม่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของดอสและมีลักษณะเป็น GUI เช่นเดียวกับแมคโอเอสและวินโดวส์ ซึ่ง GUI ของโอเอสทูนี้จะถูกเรียกว่า Workplace Shell (WPS)โอเอสทูได้เอาชนะข้อจำกัดของดอสในเวอร์ชันแรก ๆ เช่น สามารถรันโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่กว่า 640 KB ได้ ซึ่ง 640 KB นี้เป็นขนาดของแรมมากที่สุดจะสามารถเก็บโปรแกรมได้ในดอสรุ่นเก่า ๆ นอกจากนี้มันยังมีความสามารถทำงานในลักษณะของมัลติทาสกิ้งคือสามารถรันโปรแกรมมากกว่าหนึ่งโปรแกรมในขณะเดียวกันได้ แต่ละโปรแกรมก็จะมีหน้าต่างเป็นของตนเอง ผู้ใช้สามารถเลือกทำงานไปยังหน้าต่างของโปรแกรมใด ๆ ก็ได้ความสามารถอย่างหนึ่งของโอเอสทูคือ จะสามารถรันบนโปรแกรมประยุกต์ที่พัฒนาบนดอส วินโดวส์ และโอเอสทูเองได้อย่างพร้อมๆ กัน ยิ่งไปกว่านั้นโอเอสทูเป็นระบบปฏิบัติการตัวแรกบนเครื่องพีซีที่สามารถดึงความสามารถของไมโครโปรเซสเซอร์ของ Intel รุ่นล่าสุด คือ 486 และเพนเที่ยมมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังเป็นระบบปฏิบัติการตัวแรกที่มีการทำงานเป็นกลุ่ม (Workgroups) กล่าวคือผู้ใช้งานในแต่ละกลุ่มจะสามารถแบ่งกันใช้งานไฟล์และฐานข้อมูลร่วมกันได้ โดยผ่านทางสายสื่อสารไอบีเอ็มตั้งใจจะผลักดันให้โอเอสทูขึ้นมาครองตลาดแทนดอส โดยให้เป็นระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ PS/2 ของไอบีเอ็มเอง และปัจจุบันนี้ไอบีเอ็มเป็นผู้พัฒนาโอเอสทูเองทั้งหมด รวมทั้งโปรแกรมต่าง ๆ ที่จะรันบนโอเอสทูด้วย แต่เนื่องจากความล้มเหลวของการบริหาร ไมโครซอฟต์จึงแยกตัวออกไปจากไอบีเอ็มและหันไปสนับสนุนการพัฒนาดอสและวินโดวส์แทน แต่อย่างไรก็ตามโอเอสทูก็เป็นระบบปฏิบัติการที่มีความสามารถมากตัวหนึ่ง และมีความง่ายต่อการใช้งานมากกว่าวินโดวส์ในเวอร์ชันแรก ๆโอเอสทูนับว่าเป็นมิติใหม่ของระบบปฏิบัติการบนเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก มีลักษณะเด่น ๆ ของ โอเอสทู โดยสรุปได้ดังนี้ * เป็นระบบหลายโปรแกรม (multiprogramming) หลาย ๆ โปรแกรมสามารถทำงานได้พร้อม ๆ กัน * การนำเสนอบนจอภาพเป็นแบบกราฟิกส์ คือมีรูปภาพบนจอภาพ และมีการแบ่งส่วนบนจอภาพเป็นจอภาพย่อย ๆ หลายจอเรียกว่าวินโดว์ (Window) การใช้งานโอเอสทูง่ายมากเมื่อใช้กับอุปกรณ์ที่เรียกว่า เมาส์ (mouse) ในการเลือกคำสั่งหรือโปรแกรมทำงาน * สามารถรันโปรแกรมต่าง ๆ ที่รันภายใต้ระบบดอสได้ (DOS compatibility) * ใช้หน่วยความจำเสมือนให้โปรแกรมมีขนาดโตได้มากถึง 1 กิกะไบต์ โดยใช้หน่วยความจำจริงเพียง 2 – 16 เมกกะไบต์ * และอื่น ๆ เช่น มีระบบฐานข้อมูล โปรแกรมสนับสนุนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นต้นการจัดการโปรเซสความจริงแล้วคำว่า “การจัดการโปรเซส” กับ โอเอสทู คงไม่ถูกนัก เพราะโอเอสทูไม่ได้มีเพียงโปรเซสเท่านั้น แต่ยังมีส่วนประกอบอื่น ๆ อีกที่จะรันโปรแกรมให้สำเร็จลุล่วงลงได้ โอเอสทูแบ่งหน่วยการทำงานในระบบออกเป็น 3 ประเภทคือ 1. เซสชั่น (session) เป็นหน่วยใหญ่ที่สุดในระบบ ซึ่งจะหมายถึงการทำงานใดงานหนึ่งที่มีการใช้จอภาพ (วินโดว์ 1 วินโดว์) กับแป้นพิมพ์ ซึ่งเราอาจมองเซสชั่นว่าเป็นงาน 1 งาน หรือโปรแกรม 1 โปรแกรม ของระบบก็ได้ 2. โปรเซส (process) แต่ละเซสชั่นประกอบด้วยโปรเซส 1 โปรเซส หรือมากกว่าช่วยกันทำงานเพื่อให้เซสชั่นนั้น ๆ เสร็จสิ้นไป โปรเซสนี้เป็นโค้ดโปรแกรมชุดหนึ่งเท่านั้น 3. เธรด (thread) เป็นหน่วยย่อยที่สุดในระบบที่ทำงานจริง ๆ โปรเซสหนึ่ง ๆ จะประกอบด้วย เธรด 1 เธรด หรือมากกว่าช่วยกันทำงาน เป็นส่วนที่โค้ดของโปรเซสถูกเอ็กซีคิ้วจริง ๆ ดังนั้น ณ ขณะใดขณะหนึ่งจะมีเพียงเธรดเดียวที่กำลังทำงานอยู่ ในรูปที่ 9.10.เป็นการแสดงถึงความสัมพันธ์ของเซสชั่นโปรเซสธรรมดาและเธรด นั่นคือระบบประกอบด้วยหลายเซสชั่นต่างคนต่างทำงาน เซสชั่นประกอบด้วยโปรเซสแต่ละโปรเซสประกอบด้วยหลายเธรดเนื่องจากหน่วยที่ทำงานจริง ๆ ในโอเอสทูคือเธรด ดังนั้น โอเอสทูต้องจัดการการทำงานของเธรด หลายเธรดในระบบเพื่อให้เธรดต่าง ๆ ได้ทำงานพร้อม ๆ กัน ผลก็คือ โปรแกรมต่าง ๆ ในระบบได้ทำงานไปพร้อม ๆ กัน วิธีการจัดการเธรดมีหลักการเดียวกับการจัดการโปรเซสที่อธิบายในบทที่ 2 เพียงแต่เปลี่ยนจากโปรเซสเป็น เธรดเท่านั้นโอเอสทู แบ่งประเภทของเธรดออกเป็น 3 ประเภท ตามลำดับความสำคัญในการทำงานและใช้การจัดคิวแบบหลายระดับในการจัดคิวเพื่อจัดลำดับในการเข้าทำงานของเธรด โดยให้เธรดประเภทเดียวกันอยู่ในระดับเดียวกัน โอเอสทูแบ่งประเภทของเธรดออกได้เป็น 1. time-critical เป็นเธรดที่มีลำดับความสำคัญสูงสุด ต้องเข้าไปควบคุมการทำงานของระบบทุก ๆ ระยะเวลาที่กำหนดเสมอ โอเอสทูใช้คิวประเภท RR (round robin) สำหรับเธรดในระดับนี้ 2. regular เป็นเธรดที่ได้เข้าทำงานเป็นลำดับที่ 2 ต่อจากเธรดประเภทแรก การจัดคิวในระดับนี้ใช้คิวแบบลำดับความสำคัญ (priority queue) ตำแหน่งของเธรด ในคิวจะเรียงกันตามลำดับของความสำคัญซึ่งสามารถแปรเปลี่ยนได้ 3. idle-time เป็นเธรดที่มีลำดับความสำคัญต่ำสุด จะเข้าทำงานเมื่อซีพียูว่างเท่านั้น โดยใช้การจัดคิวแบบ RR สำหรับคิวระดับนี้การจัดการหน่วยความจำโอเอสทู สามารถจัดการหน่วยความจำจริงได้ตั้งแต่ 2 เมกกะไบต์ขึ้นไปจนถึง 16 เมกกะไบต์ ในขณะที่ดอสสามารถจัดการหน่วยความจำได้มากที่สุดเพียง 1 เมกกะไบต์เท่านั้น นอกจากนี้โอเอสทูยังมีระบบหน่วยความจำเสมือน ทำให้รันโปรแกรมต่าง ๆ ที่ขนาดโตได้มากที่สุดถึง 1 กิกะไบต์ แต่ต้องเป็นโปรแกรมที่ ถูกสร้างขึ้นให้รันภายใต้ระบบโอเอสทูเท่านั้น ถ้าเป็นโปรแกรมขอดอสมารันภายใต้ระบบโอเอสทูจะใช้หน่วย ความจำได้เพียง 640 กิโลไบต์เท่านั้น และสามารถรันโปรแกรมดอสได้เพียงครั้งละ 1 โปรแกรมเท่านั้น โอเอสทู แบ่งหน่วยความจำออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่ต่ำกว่า 1 เมกกะไบต์ลงมาและส่วนที่เกิน 1 เมกกะไบต์ขึ้นไปจนถึง 2 – 16 เมกกะไบต์แล้วแต่ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่มีหน่วยความจำเท่าใด ในส่วน 1 เมกกะไบต์แรกเรียกว่า compatibility box ซึ่งมีโครงสร้างเดียวกับ 1 เมกกะไบต์ที่ดอสสามารถจัดการได้ คือ 640 กิโลไบต์กแรกที่เป็นโปรแกรมดอสและโปรแกรมของผู้ใช้เข้าไปอยู่ในส่วนนี้ โอเอสทูมีโปรแกรมตัวหนึ่งเข้าไปอยู่ตรงส่วนของดอส โดยทำหน้าที่เหมือนกับดอสทุกอย่างเพื่อให้โปแกรมที่รันภายใต้ระบบดอส เพื่อให้โปรแกรมที่รันภายใต้ระบบดอสสามารถมารันภายใต้โอเอสทูได้ โปรแกรมส่วนนี้เรียกว่า logical DOS OS/2 ประโยชน์ของ logical DOS OS/2 มาเพียงเพื่อให้โปรแกรมภายใต้ระบบดอสสามารถรันภายใต้ระบบโอเอสทูได้เท่านั้นเอง ดังนั้นจึงไม่สามารถรันโปรแกรมดอสหลายโปรแกรมพร้อมกันได้ นอกจากนี้ logical DOS OS/2 ยังมีขนาดโตกว่าดอสอีกด้วย ดังนั้นขนาดของโปรแกรมที่รันภายใต้ดอสจะมารันภายใต้ โอเอสทู จะต้องมีขนาดไม่เกิน 640 กิโลไบต์ ลบด้วยขนาดของ logical DOS OS/2 ส่วนบริเวณที่เกิน 640 กิโลไบต์ไปจนถึง 1 เมกกะไบต์ เป็นส่วนที่ใช้สำหรับควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์เช่นเดียวกับในระบบดอสในส่วนที่ 2 คือ ส่วนของหน่วยความจำที่เหลือทั้งหมด ตั้งแต่ 1 เมกกะไบต์ขึ้นไปจนถึงสูงสุด 16 เมกกะไบต์ (แล้วแต่ขนาดของหน่วยความจำหลักที่มีอยู่ในเครื่อง) ในส่วนนี้ใช้สำหรับโปรแกรมที่รันภายใต้ระบบ โอเอสทูซึ่งใช้ระบบหน่วยความจำเสมือน ทำให้โปรแกรมต่าง ๆ สามารถมีขนาดใหญ่ได้ถึง 1 กิกะไบต์ (1024 เมกกะไบต์) และยังเป็นระบบที่รันหลายโปรแกรมพร้อม ๆ กันได้ด้วย ในส่วนนี้จะมีโปรแกรมของโอเอสทู เข้าไปอยู่ด้วย เพื่อควบคุมการทำงานของระบบดังแสดงในรูปที่ 9.12 ถ้าระบบมีหน่วยความจำจริงอยู่มากจะทำให้โปรแกรมต่าง ๆ ทำงานได้เร็ว (ไม่เสียเวลาสลับเข้าออกมากนัก)โครงสร้างของ โอเอสทูเราสามารถแบ่งโอเอสทูออกได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่ Session manager และ WPM (window presentation manager) Session manager เป็นส่วนที่ควบคุมการทำงานของเครื่อง ถือได้ว่าเป็นส่วนที่เป็นระบบปฏิบัติการจริง ๆ โดยหน้าที่ของ Session manager คือจัดการให้เซสชั่นต่าง ๆ ทำงานได้พร้อม ๆ กันในระบบ และทำหน้าที่อื่น ๆ ที่ระบบปฏิบัติการทั่ว ๆ ไปต้องทำ เช่น การจัดการหน่วยความจำ การควบคุมอุปกรณ์อินพุตเอาท์พุต การติดต่อระหว่างโปรแกรม เป็นต้น บางคนเรียก Session manager ว่าเป็นเคอร์เนลของ โอเอสทู มีเพียง Session manager เพียงส่วนเดียวก็สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้แล้ว ซึ่งในโอเอสทูเวอร์ชั่น 1.1 มีเพียง Session manager เพียงส่วนเดียวเท่านั้นWPM เป็นส่วนช่วยจัดการแบ่งจอภาพออกเป็นวินโดว์หลาย ๆ วินโดว์ แต่ละวินโดว์เปรียบเสมือนเป็นจอภาพของแต่ละโปรแกรม เราสามารถเลือกขนาดของวินโดว์ให้มีขนาดใหญ่-เล็กได้ตามความพอใจ และสามารถกำหนดตำแหน่งของวินโดว์ให้อยู่บริเวณใดของจอภาพก็ได้ และยังซ้อนทับกันได้ด้วย โดยการแบ่ง จอภาพออกเป็นวินโดว์นี้ ทำให้เราสามารถเห็นการทำงานของโปรแกรมต่าง ๆ หลายโปรแกรมได้พร้อมกัน ถ้าขาดส่วน WPM นี้แล้ว โปรแกรมต่าง ๆ ที่กำลังรันอยู่จะใช้จอภาพเต็มทั้งในขณะใดขณะหนึ่งจะมีเพียงโปรแกรมเดียว เท่านั้นที่แสดงผลออกทางจอภาพได้ เรียกว่าเป็นการทำงานแบบฟอร์กราวนด์ โปรแกรมที่ทำงานแบบฟอร์กราวนด์นี้สามารถเปลี่ยนไปเป็นโปรแกรมอื่นก็ได้ตาม ความต้องการของผู้ใช้โดยการกดคีย์พิเศษคือ Alt-Esc ซึ่งจะทำให้โปรแกรมต่าง ๆ สลับกันขึ้นมาทำงานแบบฟอร์กราวนด์ทีละโปรแกรมทุกครั้งที่กด Alt-Esc วนรอบไปเรื่อย ๆ ทุกโปรแกรม แต่ถ้าผู้ใช้กดคีย์ Ctrl-Esc จะทำให้ทุกโปรแกรมทำงานแบบแบคกราวนด์ทั้งหมด ส่วนที่จะมาเป็น ฟอร์กราวนด์จะเป็นส่วนของโอเอสทูเอง โดยจะส่งเครื่องหมายพร้อมต์ออกทางจอภาพและคอยรับคำสั่งใหม่จาก ผู้ใช้ ซึ่งอาจเป็นการสั่งรันโปรแกรมอื่นอีกก็ได้WPM นอกจากเป็นตัวจัดการสร้างวินโดว์ต่าง ๆ เพื่อแสดงผลของโปรแกรมต่าง ๆ แล้ว WPM ยังเป็นส่วนที่ติดต่อกับผู้ใช้ (user interface) อีกด้วย การรับคำสั่งจากผู้ใช้ของ WPM นั้นจะใช้อุปกรณ์ต่อเพิ่มพิเศษที่เรียกว่าเมาส์ เมาส์เป็นอุปกรณ์อินพุตประเภทหนึ่งซึ่งจะวางไว้อยู่บนพื้นราบ เช่น บนโต๊ะ เป็นต้น และบนจอภาพจะมีลูกศรปรากฏอยู่ เราสามารถเลื่อนเมาส์ไปมาบนพื้นราบได้ตามความต้องการ ไม่ว่าเราจะเลื่อนเมาส์ไปในทิศทางใดลูกศรบนจอภาพก็จะเลื่อนตามในทิศทางเดียว กัน เราจึงสามารถเลื่อนลูกศรไปมาบนจอภาพได้อย่างง่ายดาย WPM จะใช้สัญลักษณ์ภาพที่เรียกกันทั่ว ๆ ไปว่าไอคอน (icon) ซึ่งเป็นรูปภาพขนาดเล็ก ๆ แทน คำสั่งโปรแกรมหรืออื่น ๆ ถ้าเราต้องการใช้คำสั่งก็เพียงแค่เลื่อนลูกศรไปยังไอคอนแล้วกดปุ่มบนตัว เมาส์ โอเอสทู จะรับรู้และทำงานตามคำสั่ง การใช้เมาส์นี้เพิ่มความสะดวกและง่ายดายต่อการใช้งานอย่างมาก

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

รูปผลิตภัณฑ์ Microsoft










รูป Macintosh__apple





Microsoft VS Macintosh 2

แมคอินทอช (Macintosh) หรือที่รู้จักในชื่อย่อว่า แมค (Mac) เป็นชื่อของผลิตภัณฑ์เครื่องคอมพิวเตอร์ที่พัฒนา ออกแบบ และจำหน่ายโดยบริษัทแอปเปิล แมคอินทอชเครื่องแรกออกวางจำหน่ายเมื่อ 24 มกราคม พ.ศ. 2527 ออกแบบโดย เจฟ ราสกิน แต่ปัจจุบันโจนาธาน อีฟได้มารับช่วงต่อ โดยถือว่าเป็นระบบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่มีส่วนติดต่อผู้ใช้แบบกราฟิก และเมาส์ ซึ่งไม่ได้ใช้คอมมานด์ไลน์เหมือนคอมพิวเตอร์ทั่วไปในขณะนั้น โดยในส่วนประเทศไทย บริษัท สหวิริยา โอเอ จำกัด เป็นผู้นำเข้าและเป็นตัวแทนจัดจำหน่ายรายแรก ซึ่ง แมคอินทอชรุ่นแรกที่ บริษัท สหวิริยา ได้เปิดตัวและทำตลาดเป็นรุ่นแรกคือ Macintosh Plus ซึ่งตลาดที่ บริษัท สหวิริยา ทำในขณะนั้น ส่วนใหญ่เป็น สำนักพิมพ์ นิตยสาร โรงพิมพ์ บริษัท ออกแบบ และบริษัท โฆษณา ซึ่งนับได้ว่า Macintosh เป็นผู้เริ่มพลิกวงการพิมพ์ และออกแบบ โดยใช้ ระบบปฏิบัติการ ที่ถือว่า ฉลาด และเป็นมิตร กับ ผู้ใช้งาน (user) มากที่สุดในขณะนั้น แต่เนื่องจากราคาที่สูงมากในขณะนั้น (ราคา 2,495 ดอลลาร์) ทำให้ยังไม่แพร่หลายในหมู่ ผู้ใช้ทั่วไป
เครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอชปัจจุบันมีผู้ควบคุมการออกแบบ คือ
โจนาธาน ไอฟ์ โดยมีผลิตภัณฑ์หลักในชื่อสายการผลิต แมคมินิ ไอแมค และแมคโปร สำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ แมคบุ๊ก แมคบุ๊กแอร์ และแมคบุ๊กโปร สำหรับคอมพิวเตอร์พกพา
เครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอชจะมีการติดตั้งซอฟต์แวร์
ระบบปฏิบัติการเฉพาะในชื่อแมคโอเอส ซึ่งรุ่นปัจจุบันคือ Mac OS X v10.6 "สโนว์ เลเปิร์ด" ปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอชซึ่งเปลี่ยนมาใช้ หน่วยประมวลผลกลางของอินเทลสามารถทำงานกับซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการอื่นเช่น ลินุกซ์ หรือ วินโดวส์ได้

แมคอินทอชรุ่นต่าง ๆ

Old World ROM
ค.ศ. 1984 Macintosh 128K, Macintosh 512K
ค.ศ. 1986 Macintosh Plus
ค.ศ. 1987 Macintosh II, Macintosh SE
ค.ศ. 1988 Macintosh IIx
ค.ศ. 1989 Macintosh SE/30, Macintosh IIcx, Macintosh IIci, Macintosh

Portable
ค.ศ. 1990 Macintosh IIfx, Macintosh Classic, Macintosh IIsi, Macintosh LC series
ค.ศ. 1991 Macintosh Quadra, PowerBook
ค.ศ. 1992 Macintosh IIvx, PowerBook Duo
ค.ศ. 1993 Macintosh Centris, Macintosh Color Classic, Macintosh Performa, Macintosh TV
ค.ศ. 1994 Power Macintosh
ค.ศ. 1997 Power Macintosh G3, PowerBook G3

New World ROM
ค.ศ. 1998 iMac
ค.ศ. 1999 iBook, Power Macintosh G4
ค.ศ. 2000 Power Mac G4 Cube
ค.ศ. 2001 PowerBook G4
ค.ศ. 2002 eMac, iMac G4
ค.ศ. 2003 Xserve, Power Mac G5
ค.ศ. 2004 iMac G5
ค.ศ. 2005 Mac mini

เครื่อง Mac ที่ใช้ Intel Processor
ค.ศ. 2006 MacBook Pro, MacBook, iMac, Mac mini ที่ใช้ชิป Intel Core Duo
ค.ศ. 2006 MacPro, Xserve ที่ใช้ชิป Intel Xeon
ค.ศ. 2006 MacBook Pro, MacBook, iMac ที่ใช้ชิป Intel Core 2 Duo
ค.ศ. 2007 MacBook Pro, MacBook ที่ใช้ชิป Intel Core 2 Duo และ Base บน Santa-Rosa Platform
ค.ศ. 2007 iMac ใหม่ (ขอบดำ)
ค.ศ. 2008 MacBook Air
ค.ศ. 2008 MacBook Pro, MacBook (ขอบดำ)
ค.ศ. 2009 MacBook White Unibody,iMac ใหม่ เพิ่มขนาดจอ 27 นิ้วเข้ามา ใช้ชิป Intel Core i Series(ในรุ่นใหญ่สุด)

Microsoft VS Macintosh

1985–1995: ไอพีโอ, โอเอสทู และวินโดวส์

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1985 ไมโครซอฟท์กับไอบีเอ็ม ได้ร่วมกันพัฒนาระบบปฏิบัติการที่ก้าวหน้ากว่าเดิม มีชื่อว่า OS/2 (โอเอสทู)และในวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1985 ไมโครซอฟท์ก็ได้เปิดตัวเวอร์ชันแรกของไมโครซอฟท์ วินโดวส์ โดยเป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้รูปแบบกราฟิกรุ่นแรก โดยเป็นส่วนต่อภายนอกของดอส13 มีนาคม ค.ศ. 1986 บริษัทได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยราคาหุ้นเริ่มแรกอยู่ที่ 21 ดอลลาร์สหรัฐ และปิดการซื้อขายวันแรกที่ 28 ดอลลาร์สหรัฐ และหลังจากนั้น ไมโครซอฟท์มีมูลค่าหุ้นถึง 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และประมาณการว่า ไมโครซอฟท์มีมูลค่าทรัพย์สินมากถึง 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี ค.ศ. 1987 ไมโครซอฟท์ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการจาก โอเอสทู ไปสู่ระบบปฏิบัติการแบบOEMs
ไอพีโอ
ไมโครซอฟท์ นำหุ้นเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1986 ในราคาปิดที่ 27.75 ดอลลาร์สหรัฐ และมีจุดสูงสุดของวันที่ 29.25 ดอลลาร์สหรัฐ หลังจากไม่กี่นาที่ที่เปิดตลาด ทำให้ เกตส์ และ อเลน กลายเป็นเศรษฐีพันล้านในเวลาต่อมา โดยเกตส์ถือหุ้นในไมโครซอฟท์ 45% ของมูลค่าหุ้น 24.7 ล้านดอลลาร์ และอเลนถือหุ้นอยู่ 25% เกตส์ได้รับกำไรจากบริษัทอีก 234 ล้านดอลลาร์ และทำให้ไมโครซอฟท์มีมูลค่าหุ้นรวม 520 ล้านดอลลาร์ ในเวลาต่อมา
หลังจากเข้าสู่ตลาดหุ้น
ในปี
ค.ศ. 1989 ไมโครซอฟท์ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์สำนักงานที่ชื่อ ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ โดยเริ่มแรก ชุดโปรแกรมนี้ประกอบด้วย ไมโครซอฟท์ เวิร์ด และไมโครซอฟท์ เอ็กเซล ส่วนในวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1990 ไมโครซอฟท์ก็ได้เปิดตัว วินโดวส์ 3.0 โดยเวอร์ชันใหม่ของไมโครซอฟท์ วินโดวส์ได้มีการเปลี่ยนแปลงส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ และมีโหมดสำหรับผู้ใช้ซีพียูอินเทล 386 โดยยอดขายวินโดวส์รุ่นนี้มีกว่า 100,000 ชุดภายใน 2 สัปดาห์
วินโดวส์ 3.0 ได้สร้างกำไรมากมายให้กับไมโครซอฟท์ และทำให้บริษัทตัดสินใจปรับปรุงรูปแบบของโอเอสทูให้มาเป็นวินโดวส์หลังจากนั้น มีผู้นิยมใช้ระบบปฏิบัติการโอเอสทูและวินโดวส์กันมากขึ้น ทำให้ไมโครซอฟท์ต้องรีบเพิ่มการผลิตและปรับปรุงระบบปฏิบัติการของตน
และเมื่อวันที่
16 พฤษภาคม ค.ศ. 1991 เกตส์ได้ประกาศต่อพนักงานของไมโครซอฟท์ว่า ความร่วมมือกับไอบีเอ็มเพื่อพัฒนา OS/2 ได้สิ้นสุดลงแล้ว ต่อแต่นี้ไมโครซอฟท์จะหันมาทุ่มเทให้กับระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์วินโดวส์แทน โดยมีแกนกลางเป็น Windows NT. ในปีที่นำผลิตภัณฑ์ออกสู่ท้องตลาดนั้น OS/2 ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง และวินโดวส์ได้กลายเป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นที่นิยมของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
ในช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนจาก MS-DOS ไปเป็นระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ไมโครซอฟท์ได้ยึดตลาดของคู่แข่งด้วย
โปรแกรมประยุกต์หลายตัว เป็นต้นว่า WordPerfect และ Lotus 1-2-3
ในปี ค.ศ. 1993 ไมโครซอฟท์ได้เปิดตัว วินโดวส์ เอ็นที 3.1 เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้ในวงการธุรกิจโดยรูปแบบเหมือนกันกับ วินโดวส์ 3.11 และในปี ค.ศ. 1995 ไมโครซอฟท์ได้เปิดตัว วินโดวส์ 95 ซึ่งมีการปรับรูปแบบใหม่ทั้งหมด โดยเป็นวินโดวส์รุ่นแรกที่ใช้ทาสก์บาร์ โดยมียอดการจำหน่ายใน 4 วันแรกกว่า 1 ล้านชุดโดยไมโครซอฟท์ได้เพิ่มความสามารถทางด้านเว็บแบราว์เซอร์ (อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์) ลงในวินโดวส์ 95 พลัส แพ็ค ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1995
[แก้] 1995–2005: อินเทอร์เน็ตและกฎหมาย
วันที่
26 พฤษภาคม ค.ศ. 1995 บิล เกตส์ ออกประกาศภายในเรื่อง คลื่นแห่งระบบอินเทอร์เน็ต ไมโครซอฟท์เริ่มต้นสายการผลิตสำหรับผลิตภัณฑ์สำหรับระบบเครือข่าย ในวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1995 ก็ได้เปิดตัวบริการออนไลน์อย่างเอ็มเอสเอ็น ซึ่งเป็นคู่แข่งโดยตรงของเอโอแอล โดยเอ็มเอสเอ็นให้บริการเกี่ยวกับข้อมูลออนไลน์ของไมโครซอฟท์บริษัทยังคงสาขาไปตลาดใหม่ และในปี ค.ศ. 1996 เริ่มมีกิจการเคบิลทีวีของตัวเองซึ่งใช้ชื่อว่า เอ็นบีซี โดยเป็นสถานีเคเบิลทีวีแบบ 24/7 ไมโครซอฟท์ได้เข้าสู่วงการพีดีเอ ด้วย วินโดวส์ ซีอี 1.0 ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาสำหรับเครื่องพีดีเอ ใช้หน่วยความจำและสมรรถนำต่ำ เช่น handhelds และคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กอื่นๆ
ต่อมาในปี ค.ศ. 1997 อินเทอร์เน็ตเอกซ์โพลเลอร์ 4.0 ได้ถูกออกแบบมาสำหรับ Mac OS และวินโดวส์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการการครอบครองของตลาดเว็บเบราว์เซอร์ เช่น เน็ตสเคป ในเดือนตุลาคม บริษัท จัสติส ดีพาร์ตเมนท์ ได้ ยื่นคำร้องใน Federal ว่าไมโครซอฟท์ได้ละเมิดสัญญาที่ได้ทำในปี 1994 และได้ฟ้องให้บริษัทหยุดการพัฒนาโปรแกรมอินเทอร์เน็ตเอกซ์โพลเลอร์สำหรับวินโดวส์
ในปี ค.ศ. 1998 บิลล์ เกตส์ได้เลื่อนตำแหน่งให้ สตีฟ บอลเมอร์ เพื่อนผู้คบหากันมานาน ให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง และดำรงตำแหน่ง หัวหน้าสถาปนิกซอฟต์แวร์ แทนเขาอีกด้วยและในปีเดียวกัน ไมโครซอฟท์ก็ได้เปิดตัววินโดวส์ 98 ซึ่งเป็นรุ่นอัปเดตจากวินโดวส์ 95 ซึ่งได้เพิ่มความสามารถทางด้านอินเตอร์เรน็ตและไดรเวอร์ให้ดีขึ้น วันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 2000 คำตัดสินเด็ดขาดระหว่างรัฐบาลสหรัฐอเมริกากับไมโครซอฟท์
ในฐานะสถาปนิกซอฟต์แวร์ผู้วางยุทธวิธีการขายสินค้าของไมโครซอฟท์ บิลล์ เกตส์ได้เพิ่มความหลากหลายของประเภทสินค้าไปอย่างกว้างขวาง และเมื่อสินค้านั้น ๆ ครองตำแหน่งสินค้ายอดนิยมในบรรดาประเภทเดียวกัน เกตส์ก็จะพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อป้องกันตำแหน่งนั้นไว้ การตัดสินใจทางยุทธวิธีของเกตส์และของผู้บริหารระดับสูงของไมโครซอฟท์คนอื่น ๆ ทำให้ในปี ค.ศ. 2001 หน่วยงานของรัฐที่ควบคุมการแข่งขันทางการตลาดจับตามอง และในบางกรณีถูกวินิจฉัยว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เช่นกรณีที่ไมโครซอฟท์ถูกฟ้องร้องในข้อหาผูกขาดทางการตลาดจากการรวมเอาอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ไว้ในระบบปฏิบัติการวินโดวส์เป็นต้น
ในปีเดียวกันนั้น ไมโครซอฟท์ก็ได้เปิดตัววินโดวส์เอ็กซ์พี เป็นวินโดวส์รุ่นแรกที่แยกส่วนการผลิตเป็น 2 รุ่น แต่ก่อนที่จะมีวินโดวส์เอกซ์พี ได้มีการทดสอบวินโดวส์เอ็นที และวินโดวส์ 9x ในฐาน XP วินโดวส์เอ็กซ์พีได้มีการปรับปรุงส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ เป็นครั้งที่ 2 จากครั้งที่แล้วที่ทำกับวินโดวส์ 95[10]หลังจากปี 2001 ไมโครซอฟท์ก็ได้เปิดตัว Xbox โดยไมโครซอฟท์เข้าสู่วงการเกมเพื่อแข่งขันกันกับโซนี่ และนินเทนโด้
[แก้] 2006–ปัจจุบัน: วิสตา และการเปลี่ยนแปลง
27 มิถุนายน ค.ศ. 2008 บิล เกตส์ ได้เลิกทำภารกิจต่างๆ ในบริษัท หลังจากบทบาทของหัวหน้าสถาปนิกซอฟต์แวร์ของเขาลดลงเป็นเวลากว่า 2 ปี และตำแห่งดังกล่าวได้ถูกแทนที่โดย เรย์ โอสซีย์ แต่เขาก็ยังอยู่ในบริษัทในฐานะประธานกรรมการบริหารและที่ปรึกษาโครงการจากนั้น วินโดวส์ วิสตา ก็ได้เปิดตัวในช่วงต้นปี ค.ศ. 2007 โดยมียอดการจำหน่ายวันแรกสูงถึง 140 ล้านชุดและได้เปิดตัวพร้อมกับไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ 2007 โดยมีส่วนติดต่อกับผู้ใช้แบบใหม่คือริบบอน
ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 ไมโครซอฟท์ได้เสนอซื้อยาฮู ในราคา 44,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐและถูกปฏิเสธเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ทำให้ในวันที่ 3 พฤษภาคม ปีเดียวกัน ไมโครซอฟท์จึงประกาศถอนตัวในการเสนอราคาครั้งนี้
ไมโครซอฟท์ออกมาประกาศเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 จะแบ่งปันข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีเพื่อให้ง่ายขึ้น สำหรับนักพัฒนาในการสร้างซอฟต์แวร์ที่ทำงานร่วมกับผลิตภัณฑ์อย่างไรก็ตามสหภาพยุโรปยังคงแสดงถึงความไม่พอใจกับบริษัทที่ขาดสภาพคล่อง ประกอบกับในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2004 มีการตัดสินจากศาลว่าให้เพิ่มโทษปรับของไมโครซอฟท์อีก € 899 ล้าน ($ 1.4 พันล้าน) ซึ่งถือว่าเป็นการเพิ่มโทษปรับครั้งที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์ของอียูหลังจากนั้น ในรายงานทางการเงินของเดือนมกราคม ค.ศ. 2009 ของไมโครซอฟท์ ปรากฏว่า มีพนักงานถูกเลิกจ้างมากถึง 5,000 คน เนื่องจากเกิดวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์
และในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 ไมโครซอฟท์ออกมา การประกาศเจตนาเพื่อเปิดขายผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์ในร้านค้าปลีก เช่น วอลล์มาร์ท และ ดรีมเวิร์ค โดยมีแนวคิดมาจากเดวิด พอร์เธอร์ เพื่อต้องการให้ผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์สามารถซื้อได้สะดวกขึ้น
ผลิตภัณฑ์
ในเดือนเมษายน
ค.ศ. 2002 ไมโครซอฟท์ได้จัดตั้ง 7 กลุ่มบริษัทที่มีอิสระทางการเงิน และหลังจากนั้น ในวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 2005 ไมโครซอฟท์ได้แบ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์จาก 7 กลุ่มผลิตภัณฑ์เป็น 3 หมวด คือ
หมวดผลิตภัณฑ์แพลตฟอร์ม ประกอบด้วย
วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ , เอ็มเอสเอ็น และกลุ่มโปรแกรมเบ็ดเตล็ดต่างๆ
หมวดผลิตภัณฑ์ธุรกิจ ประกอบด้วย โซลูชั่นสำหรับธุรกิจ
หมวดผลิตภัณฑ์บันเทิง เช่น
วินโดวส์โมเบิล
[
แก้] หมวดผลิตภัณฑ์แพลตฟอร์ม
เป็นกลุ่มที่มีความสำคัญต่อไมโครซอฟท์เป็นอย่างมาก ซึ่งได้รับการผลิตในหลายเวอร์ชัน เช่น
วินโดวส์ 3.11 วินโดวส์ 95 วินโดวส์ 98 วินโดวส์มี วินโดวส์ 2000 วินโดวส์เอกซ์พี และวินโดวส์วิสตา โดยเกือบทั้งหมดมาจาก IBM compatible แต่มีซอฟต์แวร์เสริมที่เข้ามาคือ Windows preinstalled โดยในปัจจุบันเดสก์ทอปส่วนใหญฐ่หันมาใช้วินโดวส์วิสตา ส่วนในการให้บริการแบบออนไลน์นั้น ประกอบก้วย เอ็มเอสเอ็น เอ็มเอสเอ็นบีซี และนิตยสารออนไลน์ของไมโครซอฟท์ (Slate แต่ถูกซื้อกิจการโดยวอชิงตันโพสต์ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2004) และในปลายปี ค.ศ. 1997 ไมโครซอฟท์ได้ซื้อกิจการของเอ็มเอสเอ็น ซึ่งเป็นผู้ให้บริการเว็บเมลที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุด และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "เอ็มเอสเอ็น ฮอตเมล" ในปี ค.ศ. 1999 ไมโครซอฟท์ได้แนะนำเอ็มเอสเอ็น โดยใช้เมลเซิร์ฟเวอร์เพิ่อแข่งขันกับเอโอแอล ต่อมาเมื่อไมโครซอฟท์ได้ออกระบบปฏิบัติการวินโดวส์วิสตา เอ็มเอสเอ็นก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นวินโดวส์ไลฟ์ เมสเซนเจอร์
ไมโครซอฟท์ วิชวลสตูดิโอ เป็นที่นิยมสำหรับองค์กรที่ต้องการความสะดวกในการพัฒนาโปรแกรม โดยสามารถพัฒนาโปรแกรมที่เป็น GUI และวินโดวส์เอพีไอ แต่จะต้องมีการตั้งค่าหากใช้ไม่ได้กับ Microsoft libraries ในเวอร์ชันล่าสุด (วิชวลสตูดิโอ 2008) และรุ่นก่อนหน้า (วิชวลสตูดิโอ 2005) มีการปรับปรุงครั้งสำคัญโดยมีความสามารถมากกว่ารุ่นก่อน ๆ ในวิชวลสตูดิโอดอตเน็ต 2003 ก็ได้มีการเพื่มชื่อ "ดอตเน็ต" (.NET) ต่อท้าย โดยไมโครซอฟท์ได้มีความคิดริเริ่มที่จะครอบคลุมตลาดทางเทคโนโลยี ไมโครซอฟท์ได้ให้คำจำกัดความของเทคโนโลยีดอตเน็ตในปี ค.ศ. 2004 โดยเทคโนโลยีดอตเน็ตเป็นการพัฒนาโปรแกรมของวินโดวส์ที่สามารถใช้บนอินเทอร์เน็ตได้
สำหรับผลิตภัณฑ์ทางการสื่อสารของไมโครซอฟท์ที่ออกมาใหม่ว่า "อินดีโก" โดยการออกผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำคุณสมบัติบางอย่างของการออกแบบแอสแซมบลิของไมโครซอฟท์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ยาก แต่ก็ยังมีวิสัยทัศน์ในการจัดการในสถานการณ์เช่นนี้ แต่ก็ยังต้องติดตั้งซอฟต์แวร์หลายโปรแกรมในระบบเดียวกัน และให้ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อสอดคล้องกับการพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับทุกแอปพลิเคชันของวินโดวส์ นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังจัดตั้งชุดโปรแกรมพิเศษเพื่อรับรองบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาซอฟต์แวร์และโซลูชั่น โดยคล้ายกันกับผลิตภัณฑ์ของ
ซิสโค , ซันไมโครซิสเต็มส์ , โนเวลล์ , ไอบีเอ็ม และ โอราเคิล โดยได้มีการทดสอบและออกแบบเพื่อให้ง่ายต่อการติดตั้งและจัดการเฉพาะทาง
และไมโครซอฟท์มีชุดผลิตภัณฑ์สำหรับ
เซิร์ฟเวอร์ เช่น วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 โดยในระบบปฏิบัติการของเซิร์ฟเวอร์เป็นหัวใจหลักของสายการผลิตของกลุ่มผลิตภัณฑ์เซอร์ฟเวอร์ของไมโครซอฟท์ อีกหนึ่งผลิตภัณฑ์เซิร์ฟเวอร์คือระบบการจัดการเซิร์ฟเวอร์ โดยรวบรวมเครื่องมือควบคุมระยะไกล , แพทช์การจัดการ ส่วนผลิตภัณฑ์เซิร์ฟเวอร์อื่นๆ เช่น ไมโครซอฟท์ ซีเควล เซิร์ฟเวอร์ (ระบบจัดการฐานข้อมูล) และ ไมโครซอฟท์ เอกซ์เชนจื เซิร์ฟเวอร์ (เมลเซิร์ฟเวอร์สำหรับองค์กรธุรกิจ)

ประวัติ 1975–1985: ก่อตั้ง


หลังจากการเปิดตัวของ แอทแอร์ 8000 วิลเลียม เฮนรี เกตส์ ที่สาม (หรือ บิลล์ เกตส์) ได้เรียกวิศวกรมาช่วยสร้างไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่, Micro Instrumentation and Telemetry Systems (MITS) , ได้สาธิตแสดงการใช้งานของ การเขียนโปรแกรมภาษาเบสิกสำหรับระบบให้กับ MITS หลังจากการสาธิตครั้งดังกล่าว, MITS ก็ยอมรับการใช้งานของโปรแกรม แอทแอร์ เบสิก. ในขณะที่ บิลล์ เกตส์ ยังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด, เขาก็ได้ย้ายไปที่รัฐนิวแม็กซิโก , และได้ก่อตั้งไมโครซอฟท์ที่นั่น บริษัทในเครือของไมโครซอฟท์ที่ตั้งอยู่ต่างประเทศแห่งแรกคือ บริษัทไมโครซอฟท์แห่งประเทศญี่ปุ่น ก่อตั้งเมื่อ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1978 และในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1979 บริษัทก็ย้ายสำนักงานใหญ่อีกครั้ง โดยตั้งอยู่ที่รัฐวอชิงตัน สตีฟ เบลล์เมอร์ ได้เข้าทำงานกับไมโครซอฟท์เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 1980 และได้เป็นซีอีโอถัดจาก บิลล์ เกตส์ ในเวลาต่อมา


ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มของไอบีเอ็ม-พีซี -IBM-PC มาจากแพ็คเกจซอฟต์แวร์ของแอปเปิลซอฟท์ เบสิก โดยมีส่วนประกอบของตัวแปลภาษาเบสิกที่อยู่ในเครื่องแอปเปิล และไมโครซอฟท์ ซอฟท์การ์ด , ซีพียู Z80 สำหรับเครื่องแอปเปิล และ ความเข้ากันได้ของฮาร์ดแวร์เมื่อใช้เครื่องที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ CP/M ในแอปเปิลซอฟท์ และ แอปแปิลดอส



ช่วงเวลาสำคัญของไมโครซอฟท์ ได้แก่เมื่อบริษัทไอบีเอ็มได้วางแผนจะรุกตลาดเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) ด้วยการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลไอบีเอ็มออกวางตลาด ใน ค.ศ. 1985 ไอบีเอ็มได้เข้ามาเจรจากับไมโครซอฟท์เพื่อขอซื้อระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (ไอบีเอ็มได้ทำสัญญาภาษาคอมพิวเตอร์ไปแล้ว) แต่ไมโครซอฟท์ไม่มีระบบปฏิบัติการจะขายให้ จึงแนะนำให้ไอบีเอ็มไปคุยกับดิจิทัลรีเสิร์ชแทน ที่ดิจิทัลรีเสิร์ช ผู้แทนของไอบีเอ็มได้คุยกับโดโรธี ภรรยาของ แกรี คิลดาลล์ แต่เธอปฏิเสธการลงนามในข้อตกลงมาตรฐานซึ่งไม่ปิดผนึก เนื่องจากเห็นว่าเสียเปรียบเกินไป ไอบีเอ็มจึงหันมาคุยกับไมโครซอฟท์อีกครั้ง บิล เกตส์ได้สิทธิ์ในการใช้สำเนาการออกแบบของ CP/M และ QDOS (Quick and Dirty Operating System) จาก ทิม แพทเทอร์สัน แห่งบริษัท ซีแอตเทิล คอมพิวเตอร์ โปรดักส์ ด้วยการซื้อมาในราคา 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น DOS (Disk Operating System) เพื่อขายมันให้กับไอบีเอ็มในราคา "ราว 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ" ตามคำกล่าวอ้างของเกตส์ และในที่สุด MS-DOS และ PC-DOS ก็ได้แจ้งเกิดในวงการ ต่อมา ไอบีเอ็มได้ค้นพบว่าระบบปฏิบัติการของเกตส์อาจมีปัญหาละเมิดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลของ CP/M จึงได้ติดต่อกลับไปที่แกรี คิลดาลล์ และเพื่อแลกกับสัญญาว่าจะไม่ถูกคิลดาลล์ฟ้องกลับ ไอบีเอ็มได้ตกลงว่าจะขาย CP/M ควบคู่ไปกับ PC-DOS เมื่อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลไอบีเอ็มออกวางตลาด โดยตั้งราคาขาย CP/M ไว้ที่ 250 ดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ MS-DOS/PC-DOS มีราคาเพียง 40 ดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ MS-DOS/PC-DOS ขายดีกว่า CP/M หลายเท่า และกลายเป็นมาตรฐานในที่สุด ข้อตกลงเรื่องลิขสิทธิ์ระหว่างไมโครซอฟท์กับไอบีเอ็มเอง ไม่ได้สร้างรายได้มากมายเท่าไรนัก (ในสัญญาไม่ได้ระบุไว้ว่าจะต้องขายให้แก่ไอบีเอ็มเจ้าเดียว) แต่ในทางกลับกัน ไมโครซอฟท์มีสิทธิ์ในการขาย MS-DOS ให้กับผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์รายอื่นๆ และด้วยการโหมรุกทางการตลาดอย่างหนัก เพื่อขาย MS-DOS ให้ผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เลียนแบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลไอบีเอ็ม ไมโครซอฟท์มีวิสัยทัศน์ในวงการอุตสาหกรรมไมโครคอมพิวเตอร์อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน แม้จะต้องแข่งขันกับยักษ์ใหญ่ในวงการอย่างไอบีเอ็มก็ตามหลังจากนั้น ไมโครซอฟท์ก็ได้รุกตลาดฮาร์ดแวร์ โดยการเปิดตัวไมโครซอฟท์ เมาส์ ในปี ค.ศ. 1983 และก่อตั้งไมโครซอฟท์ เพลส เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ให้กับผู้ใช้